- ผิดพลาด
ความเป็นมา |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2012 เวลา 09:56 น. |
ความเป็นมา คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมาศึกษาดูงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ต่อมามีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง และเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2547 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดเลย และสั่งการให้ศึกษาการก่อสร้างการะเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยว ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนการศึกษาโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ซึ่งมีผู้อำนวยการ อพท. รวบรวมผลการศึกษาเรื่องนี้ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยว คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และคณะรัฐมนตรี ตามลำดับ อพท. ได้จัดทำร่างรายงานการทบทวนโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงและนำเสนอคณะทำงานฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบและนำเสนอคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยว และคระกรรมาธิการการท่องเที่ยวซึ่งได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 8 และ 28 พฤศจิกายน ตามลำดับ ประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยว จึงได้ทำหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี สรุปเรื่องโครงการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภูกระดึงและเส้นทางที่เหมาะสมในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2548 ได้ให้ข้อแนะนำการเลือกเส้นทางการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงไม่ให้มีผลกระทบเส้นทางเดินเท้าและสภาพป่าอุทยานแห่งชาติ ต่อมาเดือนมกราคม พ.ศ.2549 การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพิ่มเติมด้านผลกระทบจากการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ ในช่วงเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขณะนั้น จวบจนวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนการปรับปรุงการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พ.ศ.2550 - 2551 ตามที่ อพท. เสนอ ซึ่งตามแผนดังกล่าวไม่มีพื้นที่ท่องเที่ยวภูกระดึง จังหวัดเลย รวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคบริการและการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา สภาผู้แทนราษฎร จึงได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัดเลย โดยเชิญผู็แทน อพท. เดินทางไปศึกษาสำรวจพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมจัดให้มีการประชุมสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างมีประสิทธิภาพของจังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 27 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ผู้ร่วมประชุมสัมมนาประกอบด้วยผู้แทนภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่น ต่อมาการประชุมคณะอนุกรรมาธิการการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้เชิญผู้แทนจังหวัดเลย ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ผู้แทน อพท. เข้าร่วมประชุม โดยผู้แทน อพท. ได้ประมวลจากการศึกษาสำรวจพื้นที่และจัดทำกรอบแนวคิดนำเสนอต่อที่ประชุม และที่ประชุมมีมติให้การสนับสนุนการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย ในการนี้จังหวัดเลย จึงได้ประสานความร่วมมือกับ อพท.ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย พร้อมหมายมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดเลยเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย เพื่อประมวลเสนอคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา สภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไปนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย ซึ่งอยู่ระหว่างการประกาศพื้นที่พิเศษในราชกิจจานุเบกษา การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเลย ประกอบด้วย
พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเลย ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หน้า 20 เล่ม 128 ตอนพิเศษ 81 ง |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 07 มิถุนายน 2012 เวลา 11:27 น. |